สักการะพระผุดที่วัดพระทอง
ประวัติความเป็นมา ไม่มีหลักฐานที่บันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร มีแต่คำบอกเล่าจากคนรุ่นก่อนๆ
วัดพระนางสร้างในปัจจุบัน
วัดพระนางสร้างเคยมีชื่อเรียกอีกหลายชื่อนอกเหนือจากชื่อวัดนางสร้าง เช่น วัดนาล่าง วัดหน้าถลาง วัดนาสร้าง
วันนี้ที่พังงา “ล่องแพ – สักการะหลวงปู่ทวด – สำรวจถ้ำซำ”
เนื่องด้วยช่วงนี้เป็นวัสสานฤดู ทั่วทุกที่จะมีแต่ความชุ่มฉ่ำ ใบไม้เขียวขจี
ภูเก็ต ซิตี้ ออฟ แกสโตรโนมี (Phuket: City of Gastronomy)
ยูเนสโก คือองค์กรที่ดูแลเกี่ยวกับวัฒนธรรมของโลก และจะเกี่ยวข้องกับงานด้านการศึกษาและวิทยาศาสตร์อีกด้วย
ประเพณีถือศีลกินผักจังหวัดภูเก็ต แนะนำโดยคุณวริศรา โถวิเชียร
วริศรา โถวิเชียร เป็นนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต หากใครจะมาเที่ยวภูเก็ต หนูอยากจะแนะนำให้มาตอนช่วงเทศกาลถือศีลกินผักค่ะ มันเป็นประเพณีที่เก่าแก่และสืบทอดกันมาหลายช่วงอายุ เราจะได้มาทำบุญ ไหว้พระ ในช่วงเทศกาลกินผักคนภูเก็ตจะแต่งกายสวมใส่ชุดสีขาว ส่วนในเรื่องของการทานอาหารนั้นเราจะทานแต่ผัก ละเว้นเนื้อสัตว์ ซึ่งนอกจากจะได้บุญแล้ว ยังช่วยให้สุขภาพเราดีด้วยค่ะ นอกจากนี้ก็ยังมีการทำพิธีกรรมต่าง ๆ ของทางศาลเจ้าให้เราได้ดูกันอีกมากมาย
ศาลเจ้าปุ้นเถ้าก๋ง ณ ถนนหลวงชนาทรนิทเทศอุทิศ (หลวงเสือ)
ศาลเจ้าปุ้นเถ้าก๋งในจังหวัดภูเก็ต ที่เคยทราบจะมีที่เขาป่าตอง หากแต่วันนี้ถือเป็นโอกาสที่ดียิ่ง เหมือนมีอะไรดลใจให้ทีมงาน phuketindex.com ได้มีโอกาสสะดุดตากับอ๊ามเล็กๆ แห่งนี้… ไม่ผิดหวังเลยที่ทางทีมงานจะแวะสักการะ ประทับใจมากจนต้องขอเก็บภาพมาฝากผู้อ่านกันค่ะ
“นิด กับ วุฒิ” ณ นิดจะศิลป์ แกลเลอรี่ ภูเก็ต
Phuketindex.com ขอพาผู้อ่านมาทำความรู้จักกับ คุณณัฏฐนิษฐ์ นิธิวิรุฬห์ (นิด) และคุณเกริกศิษฏ์ พละมาตร์ (วุฒิ) สองสามีภรรยา เจ้าของ “นิดจะศิลป์ แกลเลอรี่” หอศิลป์เล็กๆ ในบรรยากาศอบอุ่นบริเวณโบ๊ท พลาซ่า จังหวัดภูเก็ต เมื่อคุณวุฒิ – นักกวี นักเขียน และจิตรกร
ถือศีลกินผักรอบ 2 ร้อยปีมีครั้งเดียวที่ “ศาลเจ้ากะทู้”
ในทุกๆ ปี “เทศกาลถือศีลกินผัก” ของจังหวัดภูเก็ต เป็นที่สนใจของนักท่องเที่ยว และสื่อมวลชนจากทั่วโลก ที่ร่วมเป็นสักขีพยานถึงพลังศรัทธาอันเข้มข้นของ “คนภูเก็ต” ที่มีต่อประเพณีนี้ อย่างไม่เคยจืดและจางลงไปเลย ไม่ว่าเวลาจะผ่านไปนานแค่ไหน
“น้ำตาลปั้น” ขนมเด็กโบราณ
หากย้อนกลับไปเมื่อประมาณ 20 ปีก่อน ขนมในงานวัดที่เด็กจะมีความสุขกับรสชาติ และรูปแบบ คงหนีไม่พ้น “น้ำตาลปั้น” อมยิ้มโบราณที่คนขายจะนั่งปั้นขึ้นรูปด้วยมือ โดยมีไม้เสียบไว้สำหรับถือ ไม่ว่าจะเป็นตัวสัตว์ หรือดอกไม้รูปแบบต่างๆ เช่น ลิงตกปลา นกแก้ว มังกร ไก่ กุหลาบ วึ่งปัจจุบันนี้ เรียกได้ว่า .. แทบหาไม่ได้
“ป้ายโฆษณาหนังเขียนมือ” ศิลปะย้อนยุคของภูเก็ตที่กำลังจะสูญหาย
ผู้เขียนเป็นนักดูหนังตัวยง ที่ชื่นชอบความบันเทิงบนแผ่นฟิล์ม ตอนสมัยเด็กๆ ก่อนที่โรงหนังยุคมัลติเพล็กซ์ จะเกิดขึ้นในภูเก็ต โรงหนังเพิร์ล, โรงหนังพาราไดส์ และโรงหนังเริงจิต คือสถานที่สุดโปรดที่สร้างความสุข และเติมเต็มแรงบันดาลใจในวัยเด็กของผู้เขียน ก่อนที่อินเตอร์เน็ต และแผ่นผี จะเปลี่ยนพฤติกรรมการดูหนังของผู้คน ในยุคหนึ่งเมื่อมีหนังเรื่องดังเข้าฉาย เป็นธรรมดาที่จะเห็นภาพคนต่อคิวซื้อตั๋วกันยาวเหยียด หากใครไม่อยากพลาด ก็จะต้องไปรอซื้อตั๋วก่อนหนังฉายหลายชั่วโมง เรียกได้ว่าเป็นความทรงจำดีๆ ที่น่าจดจำ แต่ก็น่าใจหายในคราวเดียวกัน
26 มิถุนายน วันสุนทรภู่
หากจะพูดถึงเรื่องนักกวีเอกที่มีชื่อเสียง มั่นใจได้เลยว่าเราในฐานะคนไทย จะต้องนึกถึง “สุนทรภู่” ผู้ซึ่งเป็นนักกวีเอกชาวไทย ที่เป็นผู้สร้างสรรคบทความ วรรณกรรม กลอนต่างๆ ที่มีความไพเราะ และได้รับยกย่องจากองค์การยูเนสโก ว่าให้เป็นบุคคลสำคัญของโลก ซึ่งวันที่ 26มิถุนายน ของทุกปี จะเป็นวันสุนทรภู่ ทาง Phuketindex.com จึงไม่พลาดที่จะนำข้อมูลดีๆ มาให้ความรู้อย่างแน่นอนค่ะ
พิพิธภัณฑ์ ตราไปรษณียากร ภูเก็ต
อาคารที่ทำการไปรษณีย์ภูเก็ตหลังเก่า เป็นอาคารเก่าแก่อีกแห่งในจังหวัดภูเก็ตที่มีความงดงามในด้านสถาปัตยกรรม และทรงคุณค่ายิ่ง ด้วยมีเอกลักษณ์เฉพาะท้องถิ่นจังหวัดชายทะเลตะวันตก อาคารสีขาวโดดเด่นงามสง่า ตั้งประจักษ์แก่สายตาบุคคลทั่วไปมาหลายยุคสมัย
วัดท่าเรือ
วัดท่าเรือ เป็นวัดเก่าแก่บนถนนเทพกระษัตรี สร้างขึ้นเมื่อไรไม่มีใครจำได้ และไม่มีใครค้นพบหลักฐานมาก่อน แต่ผู้สูงอายุเล่าตรงกันว่า วัดนี้สร้างตั้งแต่สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น คือสมัยสงครามพม่า มีพ่อท่านหลังเสือเป็นเจ้าอาวาส เมื่อสิ้นบุญพ่อท่านหลังเสือวัดนี้ก็ร้าง และได้มีการสร้างวัดขึ้นใหม่ ชื่อว่า “วัดใน”
ศาลหลักเมืองภูเก็ต กับตำนานที่ว่าด้วยการฝังคนทั้งเป็น
ศาลหลักเมือง หมายถึงที่สิงสถิตของวิญญาณที่ปกป้องบ้านเมืองใหเ้ปลอดภัย ป้องกันบ้านเมืองจากอริราชศัตรูทั้งหลาย และช่วยปกป้องประชาชน ซึ่งในจังหวัดภูเก็ตมีศาลหลักเมืองทั้งหมด 4 แห่ง วิญญาณที่สิงสถิตเป็นผู้หญิงทั้งหมด และสร้างขึ้นจากไม้ตำเสาซึ่งเป็นไม้ที่แข็งแกร่งที่สุด
2 มิ.ย.57 วันไหว้บ่ะจ่าง
วันไหว้บะจ่าง 2557 ตรงกับวันที่ 2 มิถุนายน เชื่อว่าคนไทยเชื้อสายจีนจำนวนไม่น้อยทราบดีว่า วันไหว้บะจ่าง เป็นอีก 1 วันเทศกาลที่มีความสำคัญกับคนจีน คนไทยเชื้อสายจีน เป็นวันเทศกาลที่มีความสำคัญกับคนจีน เพราะเป็น “เทศกาลไหว้บ๊ะจ่าง” ปัจจุบันบ๊ะจ่างหาซื้อได้ง่ายตามท้องตลาด แต่หลายๆ คนอาจสงสัยว่า ทำไมถึงต้องมีการไหว้บ๊ะจ่าง เทศกาลไหว้บ๊ะจ่าง มีที่มาอย่างไร เริ่มต้นตั้งแต่เมื่อไหร่ และมีความสำคัญอย่างไรกับประชาชนชาวจีน ตามมาหาคำตอบกันเลย…
ชาวจีนผู้เปลี่ยนโฉมเมืองภูเก็ต
ความเป็นเมืองภูเก็ตที่เราสัมผัสได้ทุกวันนี้ ไม่ว่าจะเป็นตึกรามบ้านช่อง อาหารการกิน การแต่งกาย วิถีชีวิตและงานประเพณีล้วนแต่มีวัฒนธรรมจีนเข้าเป็นองค์ประกอบที่สำคัญอยู่มากทีเดียว ต่อคำถามว่า ชาวจีนได้ทะลักเข้ามาอยู่ภูเก็ตตั้งแต่เมื่อไหร่นั้น เรามาอ่านคำตอบพร้อมๆกันเลยค่ะ
“ภูเก็ต” หรือ “ภูเก็จ” ? รู้ไว้ใช่ว่า
ภูเก็ต เมืองไข่มุกอันดามัน สวรรค์แดนใต้แห่งนี้ จัดเป็นแหล่งท่องเที่ยวอันดับต้นๆ ของเมืองไทย ที่มีชื่อเสียงกระจายไปทั่วโลก นอกจากจะมีความงามในเรื่องวิว ทิวทัศน์ เกาะแก่ง หาดทรายขาวๆ น้ำทะเลใสๆ ซึ่งต่างก็รู้จักกันดีอยู่แล้ว ยังมีเรื่องราวเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจอีกมากมาย ที่ดูเหมือนว่านักท่องเที่ยว หรือใครต่อใครอีกหลายคนที่เที่ยวภูเก็ตจะยังไม่รู้ หรือให้ความสนใจแต่อย่างใด
“บาบ๋า”วัฒนธรรมอันงดงามของชาวภูเก็ต
ถ้าเอ่ยถึง ภูเก็ต ทุกคนต้องรู้จัก ว่าเป็น เกาะสวรรค์แห่งทะเลอันดามัน มีหลายสิ่งหลายอย่างที่เป็นจุดดึงดูดนักท่องเที่ยว ทั้งธรรมชาติของชายหาด ที่มีทรายขาวละเอียดและน้ำทะเลใส อาคารแบบชิโนโปรตุกีส ที่บ่งบอกว่าเป็นชุมชนชาวจีน อาหารหลากหลายชนิด ประเพณีกินเจ แต่คงมีไม่มากนักที่จะคุ้นหูกับการแต่งงานแบบ “บาบ๋า”