ภูเก็ตอินเด็กซ์อาสาพาคุณไปทำความรู้จักกับเทศกาลชื่อเก๋ไก๋ “เจ้าถิ่นพากินกุ้งมังกร” หรือ Phuket Lobster Festival ซึ่งจัดขึ้นโดยเจ้าภาพ คือ บริษัท ประชารัฐรักสามัคคีภูเก็ต (วิสาหกิจเพื่อสังคม) จำกัด ปีนี้เป็นปีที่สองแล้ว สำหรับใครที่อาจจะยังไม่คุ้นหูนักกับชื่อบริษัทยาวๆ และงานกุ้งมังกรที่ว่า คุณวีระชัย ปรานวีระไพบูลย์ กรรมการผู้จัดการบริษัท ประชารัฐรักสามัคคีภูเก็ต จำกัด จะมาเล่าให้เราฟังกันค่ะ
บริษัท ประชารัฐรักสามัคคีภูเก็ต จำกัด คืออะไร
บริษัทประชารัฐรักสามัคคีภูเก็ต เป็นวิสาหกิจเพื่อสังคม เป็นบริษัทที่จัดตั้งมาโดยผู้ถือหุ้น ซึ่งก็คือประชาชนหลายภาคส่วนของภูเก็ต เป็นหุ้นส่วนร่วมกัน โดยมีทุนจดทะเบียน 4 ล้านบาท บริษัทนี้ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาให้กับเศรษฐกิจฐานราก ซึ่งในที่นี้ ก็คือ ชุมชน ผู้ประกอบการรายย่อยทั้งหมด มุ่งหวังที่จะสร้างรายได้เพิ่มขึ้นให้กับชุมชน โดยที่บริษัทจะไม่มีการปันผลกำไร ซึ่งผลประกอบการของบริษัทจะวัดกันที่ชุมชนหรือกลุ่มเป้าหมายมีรายได้ที่เพิ่มขึ้น
โครงการที่บริษัท ประชารัฐรักษ์สามัคคี ภูเก็ต จำกัด กำลังดำเนินการ
บริษัทประชารัฐรักษ์สามัคคีจะมีทุกจังหวัด ของภูเก็ตเราก็จะอยู่ภายใต้จังหวัดภูเก็ต เป้าหมายหลักคือ ต้องเป็นในภูเก็ต จริงๆ เราครอบคลุมเศรษฐกิจฐานรากทั้งหมด แต่เบื้องต้นเรามีการเลือกเข้ามาทำหลักๆ คือ 3 กลุ่ม คือ กลุ่มบาติก กลุ่มกุ้งมังกร และกลุ่มสับปะรดภูเก็ต
ทำไมเลือกบาติก? ก็เพราะว่า บาติกภูเก็ตมีเอกลักษณ์ มีความเป็นภูเก็ต พอพูดถึงบาติก ก็นึกถึงภูเก็ต หรือ พอพูดถึงภูเก็ตก็นึกถึงภูเก็ต เป็นเรื่องเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็น บาติก สับปะรด หรือกุ้งมังกร ทั้ง 3 สิ่งล้วนเป็นอัตลักษณ์ของภูเก็ต เพราะฉะนั้น เราจึงเลือกที่จะเริ่มจากสิ่งที่เหล่านี้ก่อน สับปะรดภูเก็ตเองก็เป็นชื่อที่ทุกคนรู้จักกันมาตั้งนานแล้ว หลายๆสายพันธุ์ในประเทศไทยก็สืบสายพันธุ์มาจากสับปะรดภูเก็ต ซึ่งเราพบว่าสามสิ่งที่เราเลือกมาเริ่มเสื่อม เริ่มสูญหายไปตามเวลา เนื่องจากไม่มีการทำอะไรขึ้น ทำให้กลุ่มเกษตรกรหรือกลุ่มชุมชนที่ทำงานเหล่านี้มีการเปลี่ยนวิชาชีพ สูญหาย เรามองว่าสิ่งเหล่านี้ถ้าดึงกลับมา ถ้าได้เอามาสืบต่อกัน จะเป็นโอกาสที่ดี เพราะเป็นทั้งภูมิปัญญา เป็นทั้งสินค้าพื้นถิ่น เรียกได้ว่าเป็นมรดกของจังหวัด
ความพิเศษของกุ้งมังกรภูเก็ต ทำไมต้องเป็นกุ้งมังกรภูเก็ต
กุ้งมังกรภูเก็ต ชื่อสามัญ คือ Phuket Lobster แท้จริงแล้วพบได้ทั่วไป ทั้งในเวียดนาม พม่า อินโดนีเซีย มาเลเซีย กุ้งสายพันธุ์แบบนี้ทั่วภูมิภาค แต่ถูกให้เกียรติเรียกว่า Phuket Lobster โดยเฉพาะสายพันธุ์กุ้งมังกรเจ็ดสี เป็นสายพันธุ์ที่แสดงออกถึงความเป็น Phuket Lobster มาก นี่คือความโดดเด่นของกุ้งมังกรภูเก็ต ลักษณะของเนื้อมังกรจะมีความหวาน ผมใช้คำว่ามี texture มีความเหนียว แล้วก็จะมีรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์
โครงการกุ้งมังกรภูเก็ตมีแผนดำเนินการอย่างไรในระยะนี้
วิเคราะห์จากพื้นฐานที่ว่าเรามีผู้เลี้ยงกุ้งมังกรประมาณ 24 กลุ่มชุมชนกระจายทั่วภูเก็ต โจทย์ก็คือ เราจะทำอย่างไรให้กุ้งมังกรกลับมาเป็นที่นิยมหรือเป็นที่ต้องการ เราลงพื้นที่ก่อน แล้วก็พบว่า จริงๆ แล้วกุ้งมังกรก็มีความนิยมในระดับนึง แต่ว่าก็มีซีซั่นของเขา ไม่มีความแน่นอน และในเรื่องของการขายซึ่งผู้เลี้ยงไม่ได้ขายตรงกับผู้ซื้อร้านคืออาหารมากนัก เลยเลยลองสร้างเทศกาลขึ้นมาเรียกว่า “เจ้าถิ่นพากินกุ้ง” ก็คือ Phuket Lobster Festival ซึ่งจัดขึ้นในปี 2016 เป็นปีแรก ปีนี้ 2017 เป็นปีที่สอง โดยมุ่งหวังที่จะสร้างผู้บริโภคกุ้งรายใหม่ๆ พบว่าในอดีตมีแค่นักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศเท่านั้นที่รู้จักและนิยมกินกัน ตายังมีนักท่องเที่ยวกลุ่มอื่นที่ยังไม่นิยม ส่วนร้านที่ขายก็จะมีแค่ในกลุ่มโรงแรมหรือที่ร้านอาหารตามริมชายหาด แต่เราเลือกสร้างเทศกาลโดยขอความร่วมมือจากร้านอาหารจากโรงแรมที่ไม่เคยขายกุ้งมังกรให้ริเริ่ม ในขณะเดียวกันก็นำชุมชนที่ผลิตกุ้งมาเจอกัน เกิดเป็นเทศกาล ในปีแรก มี 36 ร้านค้าที่เข้าร่วม พอปีที่สองก็ขยายไปถึง