โรคเรื้อน ที่เกิดขึ้นกับสัตว์ แม้จะไม่เป็นอันตรายถึงชีวิต แต่ก็ทำให้สัตว์นั้นไม่น่าดู ไม่น่าชม ซึ่งโรคเรื้อนที่เกิดขึ้นกับสัตว์นั้นมีอยู่ 2 ชนิดด้วยกัน คือ “โรคเรื้อนแห้งและโรคเรื้อนเปียก”

โรคเรื้อนแห้ง
สาเหตุ
การเกิดเรื้อนแห้งสาเหตุมาจากสัตว์ติดปรสิต หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ไร ที่มีขนาดเล็กมากซึ่งไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าโดยมาอาศัยอยู่บนผิวหนังชั้นกำพร้า โดยปรสิตจะสืบพันธุ์ออกไข่และจะอาศัยอยู่ในผิว
หนังของสัตว์
อาการ
สัตว์ที่ป่วยเป็นโรคเรื้อนแห้ง จะมีอาการคันทั้งตัวโดยเฉพาะขอบใบหูทั้งสองข้างและข้อศอก จากนั้นจะมีอาการคันรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งขนร่วงและเริ่มมีสะเก็ดแผลที่ตัวหนาขึ้น และสะเก็ดแผลนั้นจะลุกลามไป
เรื่อยๆ
การรักษา
ซึ่งสัตว์แพทย์จะวินิจฉัยโดยอาศัยองค์ประกอบหลายประการร่วมกัน เช่น การสังเกตจากรอยโรค การขูดผิวหนังไปส่องกล้องจุลทรรศน์หาตัวปรสิต และการเอามือขยี้ที่ใบหูเบาๆ หากสัตว์มีตัวปรสิตจะกระดิกขาหลังคล้ายๆกับการเกา เป็นต้น
การรักษาโรคเรื้อนแห้งมีหลายวิธีทั้งแบบชนิดหยดและยาฉีดซึ่งเป็นที่นิยมและได้ผลดี แต่ต้องทำซ้ำกันทุกๆ 10-14 วัน / ครั้ง จนกว่าสัตว์จะหายสนิท หรือสัตว์แพทย์ขูดหาตัวปรสิตไม่เจอแล้วนั่นเอง หากในกรณีที่เลี้ยงสัตว์ไว้หลายตัว ต้องพาสัตว์ทุกตัวมารับการรักษาด้วยเพราะโรคเรื้อนแห้งติดต่อกันง่ายและติดต่อได้ไวมาก

โรคเรื้อนเปียก
สาเหตุ
เกิดจากไรชนิดหนึ่ง ชื่อ เดโมเดค (Demodec) เป็นไร 8 ขา ที่มีขนาดเล็กมาก รูปร่างยาวรี โดยธรรมชาติแล้วไรชนิดนี้จะพบทั่วไปในสุนัขทุกตัว แต่ไม่ก่อให้เกิดโรคผิวหนังหากยังมีจำนวนน้อย และภูมิคุ้มกันของ
สุนัขยังแข็งแรงปกติ
อาการ
อาการโรคเรื้อนเปียกมี 2 ลักษณะ คือ“แบบเฉพาะที่” โดยมักพบที่บริเวณแก้ม เหนือคิ้ว ขาหน้า ผิวหนังมีสีแดง จะมีอาการคันและเกา ขนร่วง แผลจะอักเสบเป็นตุ่มแดงๆ เล็กๆ ซึ่งปกติแล้วโรคจะเกิดขึ้นเองและหายไปเองได้ภายใน 3-8 สัปดาห์ แต่หากมีอาการอักเสบมีตุ่มหนองร่วมด้วยควรพามาพบสัตว์แพทย์ เพื่อทำการรักษาเพราะจะทำให้ลุกลามได้
“เรื้อนแบบกระจายทั่วตัว” โดยจะกระจายเป็นบริเวณกว้างตั้งแต่ส่วนของใบหน้า ลำตัว ขา และเท้า แต่จะไม่หายไปเอง หากเป็นเรื้อนเปียกชนิดนี้ควรให้สัตว์ได้รับการรักษาจากสัตว์แพทย์โดยด่วน
การรักษา
สำหรับการรักษานั้น สัตว์แพทย์จะทำการตรวจคล้ายๆ กับโรคเรื้อนแห้ง คือ ใช้ใบมีดขูดผิวหนังแล้วนำไปส่องกล้องจุลทรรศน์เพื่อตรวจจำนวนตัวไร ซึ่งการรักษามีหลายวิธีทั้งฉีดยาฆ่าตัวไร การทายาฆ่าตัวไร รวมถึงยากินเพื่อฆ่าตัวไร
แต่สิ่งที่สำคัญที่สุด ควรพาสัตว์มาพบสัตว์แพทย์ตามนัดอย่างเคร่งครัด เพื่อทำการรักษาให้ครบจำนวนครั้ง ซึ่งหากเราละเลยจะทำให้ไรกลับมาอีกและจะมีอาการรุนแรงกว่าเดิม
สำหรับผู้ที่ต้องการรักษาโรคเรื้อนให้กับสัตว์เลี้ยงนำมารักษาได้ที่ โรงพยาบาลสัตว์รัตนาธิเบศร์ ภูเก็ต โดยมีทีมสัตว์แพทย์ผู้เชี่ยวชาญและอุปกรณ์การตรวจรักษาโรคเรื้อนที่ทันสมัย เปิดบริการตลอด 24 ชั่วโมง
โทรศัพท์ 076-213464-5 และ 082-790-0309
ข้อมูลจาก…โรงพยาบาลสัตว์รัตนาธิเบศร์ ภูเก็ต