“โรงแรมถาวร” เป็นโรงแรมแห่งแรกๆ ในภูเก็ต ที่เปิดให้บริการมาเกินกว่า 50 ปี ซึ่งเป็นกิจการของ ตระกูลถาวรว่องวงศ์ หรือ ติลกกรุ๊ป หนึ่งตระกูลเก่าแก่ของภูเก็ต ที่มีจุดเริ่มต้นจากนายเหมือง ในยุคเหมืองแร่ ก่อนจะพัฒนาสู่ธุรกิจการท่องเที่ยว ด้วยการจัดการแบบกงสี

หากจะพูดถึงเรื่องนักกวีเอกที่มีชื่อเสียง มั่นใจได้เลยว่าเราในฐานะคนไทย จะต้องนึกถึง “สุนทรภู่” ผู้ซึ่งเป็นนักกวีเอกชาวไทย ที่เป็นผู้สร้างสรรคบทความ วรรณกรรม กลอนต่างๆ ที่มีความไพเราะ และได้รับยกย่องจากองค์การยูเนสโก ว่าให้เป็นบุคคลสำคัญของโลก ซึ่งวันที่ 26มิถุนายน ของทุกปี จะเป็นวันสุนทรภู่ ทาง Phuketindex.com  จึงไม่พลาดที่จะนำข้อมูลดีๆ มาให้ความรู้อย่างแน่นอนค่ะ

 อาคารที่ทำการไปรษณีย์ภูเก็ตหลังเก่า เป็นอาคารเก่าแก่อีกแห่งในจังหวัดภูเก็ตที่มีความงดงามในด้านสถาปัตยกรรม และทรงคุณค่ายิ่ง ด้วยมีเอกลักษณ์เฉพาะท้องถิ่นจังหวัดชายทะเลตะวันตก อาคารสีขาวโดดเด่นงามสง่า ตั้งประจักษ์แก่สายตาบุคคลทั่วไปมาหลายยุคสมัย

ความเป็นเมืองภูเก็ตที่เราสัมผัสได้ทุกวันนี้ ไม่ว่าจะเป็นตึกรามบ้านช่อง อาหารการกิน การแต่งกาย วิถีชีวิตและงานประเพณีล้วนแต่มีวัฒนธรรมจีนเข้าเป็นองค์ประกอบที่สำคัญอยู่มากทีเดียว ต่อคำถามว่า ชาวจีนได้ทะลักเข้ามาอยู่ภูเก็ตตั้งแต่เมื่อไหร่นั้น เรามาอ่านคำตอบพร้อมๆกันเลยค่ะ

ภูเก็ต เมืองไข่มุกอันดามัน สวรรค์แดนใต้แห่งนี้ จัดเป็นแหล่งท่องเที่ยวอันดับต้นๆ ของเมืองไทย ที่มีชื่อเสียงกระจายไปทั่วโลก นอกจากจะมีความงามในเรื่องวิว ทิวทัศน์ เกาะแก่ง หาดทรายขาวๆ น้ำทะเลใสๆ ซึ่งต่างก็รู้จักกันดีอยู่แล้ว ยังมีเรื่องราวเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจอีกมากมาย ที่ดูเหมือนว่านักท่องเที่ยว หรือใครต่อใครอีกหลายคนที่เที่ยวภูเก็ตจะยังไม่รู้ หรือให้ความสนใจแต่อย่างใด

ศาลากลางจังหวัด คือสถานที่อันเป็นศูนย์กลางทางการปกครอง ที่พ่อเมือง และหน่วยงานราชการต่างๆ ใช้เป็นที่ดำเนินงานบริหาร อีกทั้งยังเป็นสัญลักษณ์ของประชาธิปไตย เมื่อยามมีการเคลื่อนไหวทางด้านการเมือง

ก่อนจะเป็น “รถโพถ้อง” ระหว่างปี พ.ศ. 2490 – พ.ศ. 2510 วิวัฒนาการสัญจรไปมาของคนภูเก็ตในยุคเริ่มแรกของการสัญจรทางบกด้วยการใช้สัตว์ลาก เช่น ใช้ม้าลากเรียกว่า “แบ้เชี้ย” ใช้ควายหรือวัวลากเรียก “หงูเชี้ย” และการใช้คนลากคือ “หล่างเชี้ย” ซึ่งในขณะนั้นเป็นยุคเหมืองแร่เฟื่องฟู นายหัวเหมืองต่างๆ

ก่อนที่ชาวโลกจะรู้จักจังหวัดภูเก็ต ในนามของไข่มุกแห่งอันดามัน สวรรค์แห่งการท่องเที่ยวทางธรรมชาติ แต่ก่อนจะมีวันนี้ ภูเก็ตได้ผ่านยุคสมัยแห่งความรุ่งโรจน์ของการทำเหมืองแร่ดีบุกมายาวนาน ในขณะนั้นชาวยุโรป (โปรตุเกส ฮอลันดา ฝรั่งเศสและอังกฤษ) และชาวจีนฮกเกี้ยน

คณะหุ่นเชิดจีน ในจังหวัดภูเก็ต ที่เรียกว่า “กาเหล้” นี้มีการแสดงมาตั้งแต่อดีต ริเริ่มโดย “แป๊ะจุ้ยห้าย” ซึ่งเป็นมหรสพที่มาจากเมืองจีน และได้สืบทอดต่อกันมาจากชาวคณะ โดยการแสดงคณะหุ่นกาเหล้ในจังหวัดภูเก็ต มักจะเกิดขึ้นในการประกอบพิธีไหว้เทวดาของศาลเจ้า ซึ่งแตกต่างจากในประเทศจีน ที่สามารถรับชมการแสดงหุ่นกาเหล้ได้ในพิธีทั่วๆ ไป  

เป็นชุดลำลอง ตัวเสื้อตัดด้วยผ้าลูกไม้หรือผ้าป่านรูเบีย แขนยาว เข้าเอวรัดรูป ปักลายฉลุทั้งที่คอเสื้อ ชายเสื้อ และปลายแขน ตัวเสื้อด้านหน้าปลายแหลมยาว ความยาวตัวเสื้อจะอยู่ระดับสะโพกบน ปกเสื้อด้านหน้าแบะออกสำหรับติดโกสังหรือกระดุมทองฝังเพชรที่ร้อยเชื่อมด้วย

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 แห่งพระบรมจักรีวงศ์ ทรงพระปรีชาสามารถในการบริหารประเทศไทย ทรงเป็นพุทธมามกะ เป็นอัครศาสนูปถัมภก ทรงบำบัดทุกข์บำรุงสุขแก่อาณาประชาราษฎร์ด้วยพระราชหฤทัยที่พระมหากรุณาธิคุณอันยิ่งใหญ่

วัดมงคลวราราม หรือวัดในยางเป็นวัดที่เก่าแก่อีกวัดหนึ่งของจังหวัดภูเก็ต ซึ่งเป็นวัดที่สวยงามและประชาชนทั่วไปรวมถึงนักท่องเที่ยวให้ความสนใจเคารพสักการะโดยเฉพาะ “พ่อท่านหนังเสือ” องค์พระเก่าแก่แห่งวัดนี้ ซึ่งในอดีตเคยเป็นเจ้าอาวาสและเป็นพระธุดงด์มาจากจังหวัด

นอกจากภูเก็ตจะเป็นเมืองท่องเที่ยวที่มีธรรมชาติอันสวยงามแล้ว ยังมีอาคารรุ่นเก่าในตัวเมืองภูเก็ต ที่เป็นทั้งบ้านเรือน ร้านค้า สถานที่ราชการ ธนาคารและอื่นๆ อีกมากมาย ลักษณะของตัวอาคารมีส่วนลึกมากกว่าส่วนกว้าง หน้าต่าง ประตู เป็นไม้ฉลุลาย

ท้าวเทพกระษัตรี ท้าวศรีสุนทร เป็นวีรสตรีไทย ที่ป้องกันเมืองถลางให้พ้นจากข้าศึกได้ในสงครามเก้าทัพ สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ท้าวเทพกระษัตรี มีชื่อเดิมว่า “ท่านผู้หญิงจัน” ท้าวศรีสุนทร เป็นน้องมีชื่อเดิมว่า “คุณมุก” ทั้งสองเป็นบุตรีของจอมรั้งเจ้าเมืองถลาง

สะพานหินสถานที่พักผ่อนหย่อนใจภายในตัวเมือง เป็นที่ตั้งของ ‘วงเวียนหอย’ ชื่อที่เรียกกันจนคุ้นปากของคนท้องถิ่นภูเก็ต พร้อมวลีเด็ดที่ติดปากที่ว่า ‘ไปเหวนหอย’ (เหวน หมายถึง แวะเวียน) เนื่องจากอนุสาวรีย์เรือขุดแร่จำลองมีลักษณะคล้ายเปลือกหอย

โรงแรมออนออน ตั้งอยู่ที่ถนนพังงา ตำบลตลาดใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต สร้างเมื่อ พ.ศ. 2472 โดยเป็นโรงแรมแห่งแรกในจังหวัดภูเก็ต และได้ทำการจ้างช่าง จากเมืองปีนัง มาออกแบบก่อสร้าง โดยเป็นตึกใหญ่ 2 ชั้น ก่อด้วย อิฐถือปูน