น้ำตกบางแป เป็นน้ำตกขนาดเล็ก บริเวณตัวน้ำตกจะมีโขดหินค่อนข้างมาก โดยเฉพาะธารน้ำ มีแอ่งน้ำที่สามารถเล่นได้ และน้ำไหลแรงตลอดปี มีความร่มรื่นด้วยต้นไม้ขนาดใหญ่นานาพันธุ์ และมีร้านขายอาหารร้านขายเครื่องดื่มเปิดบริการตลอดวัน

เดิมศาลเจ้าจุ้ยตุ่ยตั้งอยู่ที่ซอยอ่างอ่าหล่าย ต่อมา เกิดไฟไหม้ ชาวบ้าน จึงอัญเชิญเฮี้ยวโห้ย (ไฟศักดิ์สิทธิ์) มาฝากไว้ที่ศาลปุดจ้อ และเมื่อถึงเวลากินผัก ก็จะอัญเชิญกลับมายังศาลเจ้าชั่วคราวที่ชาวบ้านช่วยกันสร้างขึ้น ณ สวนพลู

วัดวิชิตสังฆาราม (สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย) วัดสำคัญแห่งหนึ่งของจังหวัดภูเก็ต สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2461 ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดเกี่ยวกับการสร้างวัด ชาวบ้านเรียกว่า “วัดควน” มาตั้งแต่แรกที่สร้างวัด ต่อมาได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2477

บริเวณจุดชมภูมิทัศน์คลองมุดง มีความหลากหลายทางชีวภาพที่คงคู่ความอุดม สมบูรณ์ของสภาพป่าชายเลนที่สำคัญ ผสานกับวิถีชีวิตเรียบง่ายแบบชุมชน นักท่องเที่ยวจะได้พบเห็นวิถีชีวิตของชาวประมง พื้นบ้านในบริเวณนี้

ณ สวนเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษามหาราชินี ถนนถลาง จังหวัดภูเก็ต จะพบประติมากรรมมังกรสีทองขนาดใหญ่ตั้งเด่นเป็นสง่า สะดุดตาผู้ผ่านไปมา คนที่ภูเก็ตมักเรียกสถานที่แห่งนี้ว่า ลานมังกรทอง

สวนหลวง ร.9 มีขนาดพื้นที่ 350 ไร่ ซึ่งถือว่าใหญ่ที่สุดในบรรดาสวนสาธารณะทั้งหมดในจังหวัดภูเก็ต แต่เดิมพื้นที่นี้เคยเป็นเหมืองแร่มาก่อน ต่อมาได้พัฒนาเป็นสวนสาธารณะสวนหลวง ร.9 ในปี พ.ศ. 2530

ศาลเจ้ากิ้วเที้ยนเก้ง หรือ อ๊ามสะพานหิน (คำว่า อ๊าม ภาษาจีนฮกเกี้ยน หมายถึง ศาลเจ้า) ได้ก่อตั้งเมื่อ วันที่ 16 เมษายน 2538 ตามพระประสงค์ของ พระแม่กิ้วเที้ยนเฮียนลื้อ เทพเจ้าชั้นผู้ใหญ่ฝ่ายศาสนาเต๋า ในสมัยพระจักรพรรดิเหลือง

วัดเขารังสามัคคีธรรม (หรือสำนักสงฆ์เขารัง) ตั้งอยู่บนเนินเขารัง จังหวัดภูเก็ต มีจุดเด่นอยู่ที่พระพุทธรูปสีทองขนาดใหญ่

เขารัง ตั้งอยู่ทางทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของตัวเมืองภูเก็ต เป็นจุดชมวิวทิวทัศน์ที่ยอดเยี่ยมของเมืองภูเก็ต เราสามารถมองเห็นตัวเมืองภูเก็ตในมุมกว้างได้โดยขึ้นไปบนจุดสูงสุดของเขารัง บนเขารังยังมีร้านอาหาร หลากหลายร้าน

วงเวียนสุรินทร์ หรือ วงเวียนหอนาฬิกา เป็นวงเวียนที่มีอายุยาวนาน ได้รับการบูรณะซ่อมแซม และออกแบบใหม่ตามสถาปัตยกรรมแบบชิโนโปรตุกีสเช่นเดียวกัน หลังการบูรณะซ่อมแซมยามค่ำคืน

สะพานหิน เป็นสวนธารณะซึ่งตั้งอยู่สุดสายถนนภูเก็ต บรรจบทะเลในเมือง มีอนุสาวรีย์หลัก 60 ปี ที่จำลองมาจากกะเชอขุดแร่ ซึ่งสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.2512

เป็นที่รู้กันดีว่าเมืองภูเก็ตเต็มไปด้วยความหลากหลายทางวัฒนธรรม เพราะชาวภูเก็ตดั้งเดิมของที่นี่ล้วนเป็นชาวจีนแผ่นดินใหญ่ บ้างก็มีเชื้อสายจีนฮกเกี้ยน จึงทำให้เกิดความหลากหลายทางวัฒนธรรม แม้กระทั่งอาหารการกินของที่นี่ก็มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวไม่เหมือนใคร

ถนนถลาง ภูเก็ต เป็นเขตเมืองเก่าของชาวจีนที่อพยพมาอยู่ที่ภูเก็ตและเป็นย่านศูนย์กลางการค้าของชาวภูเก็ตในสมัยก่อน มีทั้งชาวจีน แขก ฝรั่ง และ คนไทย ในสมัยก่อนถนนสายนี้ถือเป็นจุดศูนย์กลางของเขตชุมชนเมือง อีกทั้งยังมีบ้านเรือนสิ่งปลูกสร้างมาตั้งแต่สมัยเก่าก่อน ที่เราเรียกกันว่า

หากใครที่แวะเวียนมาท่องเที่ยวย่านเมืองเก่า ถนนถลาง จังหวัดภูเก็ต ต้องไม่พลาดหาโอกาสแวะเข้าไปในซอยรมณีย์ ซึ่งในอดีตคือซอยแห่งสถานเริงรมย์ ด้วยมีหญิงงามจากมาเก๊ามาขายบริการ ปัจจุบันตึกแบบโคโลเนียลกลุ่มนี้ถูกแต่งแต้มด้วยสีสันสดใส

พิพิธภัณฑ์ภูเก็ตไทยหัว ตั้งอยู่ที่ถนนกระบี่ย่านเมืองเก่าภูเก็ต สถานที่แห่งนี้เดิมเป็นโรงเรียนสอนภาษาจีนแห่งแรกในจังหวัดภูเก็ต ซึ่งชาวจีนฮกเกี้ยนบรรพบุรุษชาวจีนรุ่นแรกที่อพยพมาอยู่ที่ภูเก็ตได้ร่วมกันตั้งขึ้น ตัวอาคารแบบชิโนโปรตุกีสที่เห็นในปัจจุบันนี้สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2477